3/19/2553

รายงาน_อ.แตน_HO

ประวัติ บริษัท ไทยคาร์บอนแบล็ค จำกัด (มหาชน)

บริษัท ไทยคาร์บอนแบล็ค จำกัด (มหาชน) เป็นบริษัท ร่วมลงทุนระหว่างอินเดียและไทย เป็นหนึ่งในกลุ่มอุตสาหกรรมอาทิตยาเบอร์ล่าประเทศอินเดีย ซึ่งเป็นกลุ่มธุรกิจที่ใหญ่เป็นอันดับ 3 ประเทศอินเดีย ลูกค้าหลักของบริษัทฯ ล้วนแต่เป็นผู้ผลิตยางรถยนต์ที่มีชื่อเสียงของโลก เช่น บริดสโตน กู๊ดเยียร์ มิชิลิน เป็นต้น วัตถุดิบหลักในการผลิตคาร์บอนแบล็ค คือ Carbon Black Feed Stock Oil (CBFO) ซึ่งต้องนำเข้าคิดเป็น 90-95% ของต้นทุนวัตถุดิบทั้งหมด หรือประมาณ 80-85% ของต้นทุนการผลิต ราคา CBFO นั้นเทียบเคียงกับราคาน้ำมันดิบและน้ำมันเชื้อเพลิงในตลาดโลก
ลักษณะของผลิตภัณฑ์
บริษัทเป็นผู้ผลิตผงคาร์บอนหลากหลายเกรดซึ่งประกอบด้วยสารประกอบคาร์บอนในรูปของอนุภาคที่มีลักษณะระหว่างของแข็งกับของเหลว (Colloidal Particles) กระบวนการผลิตหลักเพื่อที่จะได้ผงคาร์บอน อยู่ที่การควบคุมกระบวนการเผาไหม้ และการแยกน้ำมันไฮโดรคาร์บอนโดยความร้อนภายใต้สภาวะที่กำหนด น้ำมันไฮโดรคาร์บอนที่ใช้จะเป็นน้ำมันที่มีค่า Aromatic สูงเช่น FCC, Creosote Oils หรือน้ำมันอื่นซึ่งมีค่า Aromatic สูง Carbon Black ที่นิยมใช้ในอุตสาหกรรมแบ่งออกเป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ
1. Channel Black
2. Furnace Black
3. Thermal Black



ส่วนประเภทของผงคาร์บอนที่นิยมใช้มากที่สุด คือ Furnace Black ผลิตภัณฑ์ของ Carbon Black สามารถจำแนกออกได้หลายเกรดตามการใช้งานดังนี้
1. Hard Carbon Black ใช้สำหรับยางส่วนนอกที่ต้องการความคงทน แข็งแรงแบ่งออกได้ตามเกรด
2. Soft Carbon Black ใช้สำหรับยางชั้นใน ซึ่งการใช้งานแตกต่างไปตามเกรดของ carbon black ผลิตภัณฑ์ของบริษัท ได้ผลิตขึ้นตามแบบมาตรฐานผลิตภัณฑ์ของ ASTM ซึ่งเป็นที่ยอมรับและนิยมใช้ในอุตสาหกรรมการผลิตผงคาร์บอนทั่วโลก ในปี 2549 บริษัทได้พัฒนา SOFTBLACK REACTOR ตัวใหม่ โดยเป็นโครงการวิจัยและพัฒนาร่วมกันกับศูนย์วิจัยและพัฒนาคาร์บอนแบล็คที่ประเทศอินเดีย ซึ่งหลังจากพัฒนา SOFTBLACK REACTOR ตัวใหม่แล้วบริษัทสามารถผลิต SOFTBLACK ชนิดพิเศษซึ่งมีสารปนเปื้อนน้อยมากๆ ซึ่งผลิตภัณฑ์ตัวใหม่นี้สามารถใช้ในผลิตภัณฑ์ยางประเภท ยางกันซึม ท่อยาง ยางกันกระแทก เป็นต้น
ผงคาร์บอนชนิดนี้มีคุณสมบัติพิเศษซึ่งช่วยในการระบายความร้อนให้หน้ายางในขณะที่ยางรถยนต์เสียดสีไปกับพื้นถนนและเป็นสารตัวเติมที่นิยมมากที่สุด เนื่องจากเมื่อเติมผงคาร์บอนลงไปในยางแล้วจะช่วยให้คุณสมบัติทางฟิสิกส์ของยางดีขึ้นและช่วยยืดอายุการใช้งานของยางรถยนต์
คาร์บอนแบล็คเกิดจากการเผาไหม้น้ำมันดิบ (Feedstock Oil) ที่อุณหภูมิ 1,600 องศาเซลเซียส ผลิตภัณฑ์คาร์บอนแบล็คร้อยละ 80 ใช้เป็นวัตถุดิบในการทำยางรถยนต์ ยางเครื่องบิน โดยคาร์บอนแบล็คมีคุณสมบัติเสริมสร้างความแข็งแรงและช่วยยืดอายุการใช้งานของยาง ยางส่วนที่เหลือคาร์บอนใช้ในอุตสาหกรรมต่าง ๆ หลายชนิด เช่น สี หมึกพิมพ์ แบตเตอรี่ ตัวนำไฟฟ้า และผลิตภัณฑ์ยางต่าง ๆ ปัจจุบันมีการส่งออกผลิตภัณฑ์ร้อยละ 49 ไปทั่วโลก
โครงสร้างการบริหาร
โครงสร้างการจัดการของบริษัท ประกอบด้วย
- คณะกรรมการ
- คณะกรรมการตรวจสอบ
- คณะจัดการ
คณะกรรมการ
คณะกรรมการของบริษัททั้งหมดปัจจุบันมีจำนวน 12 ท่าน ข้อมูล ณ 31 ธันวาคม 2551

ชื่อ ตำแหน่ง
1.นายกุมาร์ มังกาลัม เบอร์ล่า ประธานกรรมการ
2.นางราชาสรี เบอร์ล่า กรรมการ
3.ดร.ราเคช เจน กรรมการบริหาร
4.นายเอส.เอส. มาฮันซาเรีย กรรมการ
5.นายอาร์.เค. ราทิ กรรมการอิสระ / ประธานคณะกรรมการตรวจสอบ
6.นายประกิต ประทีปะเสน กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ
7.นายดีพาค มิททัล กรรมการ
8.นายรายินเดอร์ปาล ซิงห์ ทักราลบุตร กรรมการอิสระ
9.นางรัชนี คาจิจิ กรรมการ
10.นายอาร์วินด์ เค. นีวาร์ กรรมการอิสระ
11.นายซาชิน จิเทนดรา เมธา กรรมการอิสระ / กรรมการตรวจสอบ
12.นายเอส ศรีนิวสัน กรรมการ
โดยมีนางพรรษชล กุศลภุชฌงค์ (ผู้จัดการฝ่ายการเงิน) ดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการบริษัทฯ
คณะกรรมการตรวจสอบ
ปี 2551 บริษัทมีคณะกรรมการตรวจสอบจำนวน 3 ท่าน ซึ่งทั้ง 3 ท่านเป็นกรรมการอิสระ ประกอบด้วย
1.นายอาร์.เค. ราทิ ประธานกรรมการตรวจสอบ
2.นายประกิต ประทีปะเสน กรรมการตรวจสอบ
3.นายซาชิน จิเทนดรา เมธา กรรมการตรวจสอบ
โดยมีนายปวัน เจน(ประธานเจ้าหน้าที่บริหารเงิน) ดำรงตำแหน่งเป็นเลขานุการกรรมการตรวจสอบ
หมายเหตุ
คณะกรรมการได้มีการทบทวนประธานและคณะกรรมการตรวจสอบในวันที่ 2 มีนาคม 2552 ซึ่งกรรมการตรวจสอบ ทั้ง 3 ท่านได้มีความรู้ความสามารถ และประสบการณ์เพียงพอที่จะทำหน้าที่ในการสอบทานความน่าเชี่อถือของงบการเงิน

รายนามคณะกรรมการตรวจสอบปัจจุบันมีดังนี้
1.นายประกิต ประทีปะเสน ประธานกรรมการตรวจสอบ
2.นายเอส.เอส. มาฮันซาเรีย กรรมการตรวจสอบ
3.นายซาชิน จิเทนดรา เมธา กรรมการตรวจสอบ
คณะผู้บริหาร
บริษัทมีคณะจัดการทั้งหมด 5 ท่าน ข้อมูล ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2551 รายนามดังนี้
ชื่อ ตำแหน่ง
1. นายซานจีฟ ซู้ด* ประธานบริษัท
2. นายอเจ กุมาร์ ราสโตกี รองประธานอาวุโสฝ่ายการผลิต
3. นายราจีฟ กุ้ปต้า รองประธานอาวุโสฝ่ายการตลาด
4. นายปวัน เจน รองประธานฝ่ายพาณิชย์
5. นายลัทธสิทธิ์ ทองแคล้ว ผู้จัดการทั่วไป (ฝ่ายทรัพยากรมนุษย์ และบริหาร)
*นายซานจีฟ ซู้ด เป็นประธานบริษัทที่ได้รับการแต่งตั้งแทนนายเอส ศรีนิวสัน ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2552
โครงสร้างคณะผู้บริหาร


โครงสร้างรายได้ของบริษัท, บริษัทย่อย และบริษัทร่วมย้อนหลัง 3 ปี
ดำเนินการโดย 2551 2550 2549
บมจ.ไทยคาร์บอนแบล็ค 9,032 6,802 6,594
บจ.เหลียวหนิง เบอร์ล่า คาร์บอน *142.7 *97.88 *94.79
บจ.เบอร์ล่า คาร์บอน เม็กซิโก **0.001 ไม่มี ไม่มี
บจ. พี ที ลิเบอร์ตี้ เท็กซ์ไทล์ ***495,650 ***479,824 ***364,375
บจ.อดิตยา เบอร์ล่า เคมีคัลส์ (ประเทศไทย) 11,420 8,529.00 7,461.34




ที่มา รายงานประจำปี 2551 ( PDF )
การตลาดและการแข่งขัน
ในปี 2551 บริษัทยังคงเป็นเป็นผู้ครองส่วนแบ่งการตลาดส่วนใหญ่สำหรับตลาดภายในประเทศ เมื่อเทียบกับบริษัท ไทยโตไกคาร์บอนโปรดักท์ จำกัด และบริษัท บริดจสโตน คาร์บอนแบล็ค (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทได้ขายสินค้าที่เป็นเกรดพิเศษที่ใช้กับธุรกิจที่ไม่ใช่ยาง ทั้งในและต่างประเทศประมาณ 3 % ของยอดขายรวม ซึ่งเป็นตลาดใหม่และบริษัทได้ให้ความสำคัญเนื่องจากจะสามารถะเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันให้กับบริษัทได้ สำหรับตลาดสำหรับธุรกิจที่ไม่ใช่ยางนี้ผู้ผลิตที่ครอบส่วนแบ่งการตลาดสูงสุดคือผู้ผลิตคาร์บอนแบล็คในประเทศญี่ปุ่น ซึ่งบริษัทอยู่ในขั้นเริ่มต้นที่จะมีส่วนแบ่งการตลาดในตลาดนี้ ปัจจุบันบริษัทได้ขยายการตลาดทั้งในส่วนสินค้าเดิมและสินค้าเกรดใหม่ออกไปในหลายประเทศ
โครงสร้างรายได้
ล้านบาท
2551 2550 2549
จำนวน % จำนวน % จำนวน %
ขายในประเทศ 4,946 54 3,655 54 3,382 51
ขายต่างประเทศ 4,086 46 3,147 46 3,212 49
ยอดขายรวม 9,032 100 6,802 100 6,594 100
สำหรับตลาดภายในประเทศมีผู้ผลิตผงคาร์บอนรายใหญ่ 3 ราย
1. บริษัท ไทยคาร์บอนแบล็ค จำกัด (มหาชน) กำลังการผลิตประมาณ 220,000 ตัน ต่อปี
2. บริษัท ไทยโตไกคาร์บอนโปรดักท์ จำกัด กำลังการผลิตประมาณ 110,000 ตัน ต่อปี
3. บริษัท บริดจสโตน คาร์บอนแบล็ค (ประเทศไทย) จำกัด กำลังการผลิตประมาณ 40,000 ตันต่อปี (ผลิตให้กับโรงงานผลิตยางรถยนต์ในเครือบริดจสโตนที่อยู่ต่างประเทศ)
ส่วนแบ่งการตลาดปี 2551 (ประมาณการจากยอดขาย)
บริษัท ส่วนแบ่งการตลาด (%)
1. บริษัท ไทยคาร์บอนแบล็ค จำกัด (มหาชน) 44%
2. บริษัท ไทยโตไกคาร์บอนโปรดักท์ จำกัด 34%
3. บริษัท บริดจสโตน คาร์บอนแบล็ค (ประเทศไทย) จำกัด 6%
4. นำเข้าคาร์บอนแบล็คจากต่างประเทศ 16%

ที่มา www.set.or.th
วิสัยทัศน (Vision)
“ต้องเป็นบริษัทชั้นนำในประเทศและเป็นองค์กรระดับโลกในอุตสาหกรรมคารบอนแบลค โดยการปรับปรุงด้านบุคลากร ขบวนการต่างๆ ผลิตภัณฑ์ และการบริการอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ลูกค้าและผู้มีส่วนได้ส่วนเกี่ยวข้องทั้งหลาย พึงพอใจ”
พันธกิจ (Mission)
1. นำแนวทางปฏิบัติที่ดีที่สุดของบริษัทชั้นนำของประเทศมาปฏิบัติ
2. เพิ่มคุณค่าให้แก่ลูกค้าโดยการปรับปรุงผลิตภัณฑ์และการบริการอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของลูกค้า โดยการเปรียบเทียบผลการดำเนินงานกับบริษัทผลิตคารบอนแบลคชั้นนำของโลก
3. เพิ่มคุณค่าให้กับสังคมและประเทศชาติ โดยการจ้างงาน การส่งออก และการรักษาสิ่งแวดล้อม
4. พัฒนาทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง อันนำไปสู่การพัฒนาองคกรและการพัฒนาตนเอง
ค่านิยมองค์กร ( Our Values )
ซื่อสัตย์ Integrity ( Honesty in every action )
มุ่งมั่น Commitment ( Deliver on the promise )
ทำด้วยใจรัก Passion ( Energized action )
เป็นหนึ่งเดียวกัน Seamlessness ( Boundary less in letter and spirit )
รวดเร็ว Speed ( One step ahead always )

บริษัท มีความเชื่อมั่นในการบริหารจัดการของผู้บริหารในทุกระดับ ประกอบกับผลประกอบการที่เป็นเลิศ ทำให้บริษัทได้รับการรับรองทั้งในและต่างประเทศ ทั้งทางด้านคุณภาพและรางวัลแห่งคุณภาพที่สำคัญ ดังนี้คือ
- รางวัล Deming Prize for Total Quality Management จากประเทศญี่ปุน ในปี 2001
- รางวัลการบริหารองค์กรที่เป็นเลิศ (Thailand Quality Class : TQC) ในปี 2002 และปี 2003 จากคณะกรรมการรางวัลคุณภาพแห่งชาติ
- ISO 9001 : 2000 Certification” By BVQI /สถาบัน BVQI หรือ Bureau Veritas Quality International (Thailand) ปี 2004
ข้อมูลเกี่ยวกับBVQI เป็นองค์กรตรวจรับรองมาตรฐานที่ได้รับความเชื่อถือสูงที่สุดในโลก และได้รับการรับรองมาตรฐานระบบ (Accreditation) จากหน่วยงานระดับประเทศในกว่า 30 ประเทศ โดยให้บริการตรวจสอบและรับรอง มาตรฐานผลิตภัณฑ์ทั้งในด้านคุณภาพ ความปลอดภัยในการบริโภค ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน สิ่งแวดล้อม และสังคม

จากการเจริญเติบโตของคน ( Quality of life )
- บนพื้นจะเต็มไปด้วยคุณภาพชีวิตของคน
- เริ่มต้นด้วยรากที่มีกิจกรรม 5 ส ประกอบด้วย
- ดินชั้นบนจะเป็นการพัฒนาบุคลากร
- QCC เป็นน้ำ
- KSS เป็นปุ๋ย
- TPM เป็นลำต้น
- IQRS เป็นดวงอาทิตย์ ที่แสงสว่างสำหรับผลคุณธรรมอันดี ผลิตภัณฑ์คุณภาพสูง ต้นทุนต่ำ มีความปลอดภัยและมีคุณภาพสูง
กิจกรรม 5 ส (5S) คือ การปรับปรุงสภาพพื้นฐานในการปฏิบัติงานประจำวัน เพื่อเอื้ออำนวยให้เกิดประสิทธิภาพและคุณภาพของงาน 5ส. นี้นำมาจากภาษาญี่ปุ่น 5 คำ คือ
SEIRI สะสาง คือ แยกสิ่งที่ไม่จำเป็นกับสิ่งที่จำเป็น
SEITON สะดวก คือ การจัดวางสิ่งที่จำเป็นให้ง่ายต่อการหยิบใช้ รู้ได้ทันทีว่าอยู่ที่ใด
SEISO สะอาด คือ การรักษาความสะอาดสถานที่ เครื่องใช้ อุปกรณ์ บริเวฯทางเดินให้ปราศจาก
ขยะ ฝุ่นผงและเศษวัสดุ
SEIKETSU สุขลักษณะ คือ รักษาสถานที่ทำงานให้สะอาดตา โดยรักษา 3ส. แรกให้ดีอยู่เสมอ
SHITSUKE สร้างนิสัย คือ การปฏิบัติตมกฎระเบียบอย่างต่อเนื่องจนเป็นนิสัย
ที่มา:http://vdo.eng.psu.ac.th/web2/5s/index.php?option=com_content&task=view&id=76&Itemid=70
กิจกรรม 5ส. มีส่วนสาคัญที่จะช่วยให้การบริหารประสบผล สนองความต้องการของลูกค้าได้ในเรื่องปัจจัยคุณภาพ 5 (QCDSM) ปัจจัยที่สาคัญนั้นประกอบด้วย Quality = คุณภาพ Cost = ต้นทุน การผลิต Delivery = การส่งมอบ Safety = ความปลอดภัย และ Morale = ขวัญและกำลังใจของพนักงาน ดังจะพบว่าผู้ผลิตจึงจาเป็นต้องบริหารในเรื่องต่อไปนี้คือ
1. คุณภาพ โดยการผลิตสินค้าที่มีคุณภาพดี ให้บริการที่ดีต่อลูกค้า และจะต้องทำงาน ประจำอย่างมีคุณภาพ
2. ต้นทุน โดยการพยายามผลิตสินค้าและบริการที่มีต้นทุนต่า ไม่สูงกว่าต้นทุนของคู่แข่งขัน
3. การส่งมอบ จะต้องทาการส่งมอบสินค้าให้ถูกสถานที่ ปริมาณถูกต้องและทันเวลาด้วย
4. ความปลอดภัย จะต้องผลิตสินค้าที่มีความปลอดภัยต่อผู้ใช้ และปราศจากมลภาวะ เป็นพิษ
5. ขวัญและกาลังใจ โดยการสร้างขวัญและกาลังใจที่ดีให้กับพนักงาน ให้มีจิตมุ่งมั่นที่จะร่วมมือกันเป็นอันหนึ่งอันเดียวในการผลิตสินค้าให้ถูกต้องกับความต้องการของลูกค้า และทำงานเต็มประสิทธิภาพ (ที่มา : นายชลัช บุญหลาย, 2543 )
QCC คือ การบริหารโดยระบบการควบคุมคุณภาพหรือกลุ่มคุณภาพ คือ กิจกรรมหรือกระบวนการแก้ไขปัญหาและควบคุมคุณภาพด้วยกลุ่ม ฉะนั้น การบริหารโดยระบบควบคุมคุณภาพหรือกลุ่มคุณภาพ หมายถึง กิจการร่วมกันของ กลุ่มพนักงานรวมตัวกัน โดยสมัครใจ เพื่อปรับปรุงและแก้ไขปัญหาขององค์การ ทั้งนี้ ต้องไม่ขัดต่อนโยบายหลักขององค์การ กิจกรรมของ Q.C.C.แบ่งออกได้เป็น 2 ประเภท คือ
1. กิจกรรมที่สามารถวัดหรือคำนวณออกมาเป็นตัวเลขได้
- การเพิ่มผลผลิต
- การลดจำนวนของเสียของผลิตภัณฑ์
- การลดจำนวนของลูกค้าที่ส่งคืน เนื่องจากผลผลิตภัณฑ์ที่ส่งไปไม่ได้คุณภาพตามที่ลูกค้าต้องการ
- การลดค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ลง
2. กิจกรรมที่มาสามารถวัดหรือคำนวณออกมาเป็นตัวเลขได้
- ทำให้ความร่วมมือของพนักงานดีขึ้น
- ทำให้ขวัญและกำลังใจของพนักงานดีขึ้น
- ทำให้พนักงานมีความรับผิดชอบสูงขึ้น
- ลดความขัดแย้งในการทำงานลง
( อ้างอิงใน นภดล เชนะโยธิน ,2531 ) ที่มา : http://wandeetik0512.blogspot.com
TPM คือ มาจากคำว่า Total Productive Maintenance หลักการของ TPM นั้นเริ่มต้นการพัฒนามาจาก การดำเนินการ PM หรือการทำ Preventive Maintenance และได้พัฒนาการดำเนินการมาเรื่อยๆ โดยความคิดพื้นฐาน เริ่มจากการทำการบำรุงรักษาเครื่องจักร เพื่อไม่ให้เสีย และสามารถเดินเครื่อง ตามที่ต้องการได้ โดยการใช้ ทั้งการบำรุงรักษาตามคาบเวลา (Time Base Maintenance) ความคิดเรื่องการทำการบำรุงรักษา เพื่อให้เครื่องจักรไม่เสียนั้น จึงเริ่มจากการตรวจสอบ ให้ทราบถึงการเสื่อมสภาพ ของชิ้นส่วนต่างๆ ก่อนที่เครื่องจักรนั้นๆ จะเสียหาย ดังนั้นจึงต้องมีผู้ที่มีความสามารถ ในการตรวจสอบเครื่องจักร ซึ่งต้องเป็นผู้ที่สามารถรับรู้ การเสื่อมสภาพได้อย่างแม่นยำ ผู้ที่จะทำเช่นนี้ได้อย่างดีที่สุดก็คือ พนักงานเดินเครื่อง ที่มา : http://pirun.ku.ac.th/~b4755409/link/TPM.html

รางวัลต่างที่ไทยคาร์บอนแบล็คได้รับ


2004 “Safety, Occupational Health & Environment Award” By Prime Minister of Thailand
2004 “Oustanding Company - Labour Relationship” By Labour Minister
2004 “Oustanding Company - Welfare Management” By Labour Minister
2004 “Green Factory Award” By Labour Minister
2005 “TPM Special Award - First Category” By JIPM, Japan
2007 “Best Client Award for Quality Management - 2007” By BV Certification (Thailand)
2007 Certification on “National Standard for Labour Skill” By Labour Ministry
2007 Asia Pacific Best 200 Small Companies” By Forbes Magazine
2008 “The Asia Pacific Best 200 Small Companies” By Forbes Magazine Chairman’s WCM Awards 2007 - Platinum Level By Aditya Birla Group Chairman




ปัจจัยเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม
- ของเสียทางอากาศ เช่น ควันไฟ ซึ่งเกิดจากเผาไหม้ใน dryer และ boiler ผ่านออกมาทางปล่องไฟ การปล่อยก๊าซสู่บรรยากาศ บริษัทฯ มีการควบคุมค่า SO2 และ NO2 ให้ต่ำกว่าค่าพิกัดมาตรฐานที่กำหนดโดยรัฐบาลด้วยระบบการเผาไหม้สมบูรณ์ที่มีประสิทธิภาพและมีประสิทธิผลในหม้อไอน้ำ (boiler) และเตาอบแห้ง (dryers) ซึ่งมีการควบคุมปริมาณ O2 ที่เหลืออย่างอัตโนมัติที่ 1.5 ถึง 2.5%
- น้ำทิ้งจากโรงผลิตน้ำ de-min จะถูกปล่อยไปยังบ่อบำบัด เพื่อปรับสภาพ pH ของน้ำทิ้งให้
เป็นกลาง ในอัตรา 60 ลูกบาศก์เมตรต่อวัน
- การใช้สารเคมีจะถูกเก็บรวบรวมและขนออกไปทิ้งโดยบริษัทที่ได้รับการจดทะเบียนกับ
รัฐบาลให้สามารถขนขยะอันตรายไปกำจัดได้
ที่มา www.set.or.th

การวิเคราะห์
จะเห็นได้ว่าบริษัทไทยคาร์บอนแบล็คได้ทำธุรกิจเกี่ยวกับคาร์บอนแบล็คซึ่งเป็นผลิตภัณฑ์ที่เกี่ยวข้องกับอุตสาหกรรมการผลิตยางรถยนต์รายใหญ่ในประเทศไทย ซึ่งคาร์บอนแบล็คมีคุณสมบัติช่วยระบายความร้อนให้กับหน้ายางขณะเสียดสีหรือสัมผัสพื้นถนนและช่วยยืดอายุการใช้งานของยางรถยนต์ วัตถุดิบหลักในการผลิตคาร์บอนแบล็ค คือ Carbon Black Feed Stock Oil (CBFO) ซึ่งต้องนำเข้าคิดเป็น 90-95% ของต้นทุนวัตถุดิบทั้งหมด ที่เกิดจากการเผาไหม้ที่อุณหภูมิ1,600 เซลเซียส ซึ่งกระบวนการเผาไหม้เหล่านี้ย่อมส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมไม่ว่ามลพิษทางอากาศ น้ำทิ้งจากโรงงานและวัตถุอันตราย รวมทั้งผลกระทบคุณภาพชีวิตชุมชนรอบโรงงานอย่างแน่นอน
เดิมทางองค์กรจึงมีลักษณะเป็น Healty Organization ( HO ) เพื่อสร้างคุณภาพชีวิตพนักงานและชุมชนรอบโรงงาน โดยใช้มาตราฐานรางวัลต่างๆโดยการประชาสัมพันธ์สร้างความเข้าใจ เพื่อสร้างความมั่นใจให้กับพนักงานและชุมชนรอบๆโรงงาน
เมื่อเกิดวิกฤติการณ์ทางเศรษฐกิจทั่วโลก เช่น เกิดภาวะสงคราม เป็นต้น ซึ่งเป็นปัจจัยภายนอกที่ส่งผลกระทบต่อราคาวัตถุดิบกับรายได้ขององค์กร เช่นราคาตลาดโลกน้ำมันสูงขึ้น จึงต้องมีการปรับตัวขององค์กรจากลักษณะที่เป็น Healty Organization ( HO ) ที่มีความผันผวนจากปัจจัยภายนอกที่เข้ามามีผลกระทบฐานะบริษัท จึงเปลี่ยนมาเป็นHigh Performance Organization ( HPO ) เพื่อรองรับแข่งขันกับคู่แข่งที่เพิ่มขึ้นและปัจจัยภายนอกพร้อมกับกำลังการผลิตที่เพิ่มขึ้นด้วย